นักการยศาสตร์วิชาชีพระดับภาคีจะแบ่งเป็น 3 ด้าน โดยสามารถเลือกขอรับการรับรองเป็นนักการยศาสตร์วิชาชีพระดับภาคีด้านต่าง ๆ ได้แก่
ขั้นตอนการขอรับการรับรองเป็นนักการยศาสตร์วิชาชีพระดับภาคีสามารถแสดงได้ดังรูปที่ 1 โดยผู้ขอรับการรับรองเป็นนักการยศาสตร์วิชาชีพระดับภาคีมีรายละเอียดคุณสมบัติ ดังนี้
(ก) กรณีที่หลักสูตรผ่านการรับรองจาก CBEST ต้องผ่านการเรียนรายวิชาพื้นฐานที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ HFE รวมอย่างน้อย 45 ชั่วโมง และรายวิชาเฉพาะทาง HFE ในด้านที่ขอรับรองที่มีเนื้อหารวมอย่างน้อย 90 ชั่วโมง (ดูรายละเอียดเนื้อหาความรู้พื้นฐานและความรู้เฉพาะทางในแต่ละด้านในส่วนที่ 6)
(ข) กรณีที่หลักสูตรไม่ผ่านการรับรองจาก CBEST ต้องยื่นหลักฐานเอกสารเนื้อหาการเรียนในรายวิชาและ/หรือการอบรมที่เกี่ยวข้องกับ HFE เพื่อพิจารณาเฉพาะรายบุคคล
2.2 หากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาอื่น ๆ ต้องมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับ HFE อย่างน้อย 5 ปี และยื่นหลักฐานเอกสารเนื้อหาการเรียนในรายวิชาและ/หรือการอบรมที่เกี่ยวข้องกับ HFE เพื่อพิจารณาเฉพาะรายบุคคล
3. มีเอกสารบทความวิจัยทาง HFE ที่ผ่านการตรวจสอบอย่างน้อย 2 ฉบับ หรือรายงานโครงการเกี่ยวกับ HFE ที่มีการประยุกต์ใช้แล้วได้จริง ในด้านที่สมัครจำนวนอย่างน้อย 2 โครงการ
การได้รับการรับรองเป็นนักการยศาสตร์วิชาชีพระดับภาคีมีอายุการรับรองเป็นเวลา 5 ปี การต่ออายุการขอรับการรับรองเป็นนักการยศาสตร์วิชาชีพระดับภาคี จะพิจารณาจากคะแนนส่วนต่าง ๆ ทั้งหมด 4 ส่วน ผู้ที่จะขอต่ออายุการรับรองสามารถยื่นรายละเอียดหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคะแนนในแต่ละส่วนที่อธิบายไว้ด้านล่าง โดยการต่ออายุจะพิจารณาคะแนนรวมอย่างน้อย 70 คะแนน ระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา และจะต้องเป็นคะแนนที่มาจากส่วนที่ 2 หรือ 3 อย่างน้อย 10 คะแนน สำหรับรายละเอียดค่าคะแนนในแต่ละส่วนมีแนวทางในการพิจารณาดังนี้
ส่วนที่ 1. พิจารณาจากลักษณะงานประจำที่เกี่ยวกับ HFE (เช่น งานในภาคอุตสาหกรรม งานสอน งานให้คำปรึกษา งานคลินิก งานวิจัย เป็นต้น) ดังนี้
1.1 กรณีทำงานเต็มเวลา (full-time) ทางด้าน HFE จะพิจารณาคะแนนสูงสุดที่ 16 คะแนนต่อปี (80 คะแนนต่อ 5 ปี)
1.2 กรณีทำงานบางส่วน (part-time) ทางด้าน HFE จะพิจารณาคะแนนสูงสุดที่ 12 คะแนนต่อปี (60 คะแนนต่อ 5 ปี)
ส่วนที่ 2. พิจารณาจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางด้าน HFE (เช่น การเข้าร่วมประชุมวิชาการ การเข้าร่วมกิจกรรมอบรมต่าง ๆ เป็นต้น) จะพิจารณาคะแนนตามระยะเวลาการเข้าร่วมสูงสุดที่ 2 คะแนนต่อวัน
ส่วนที่ 3. พิจารณาจากการเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานโครงการทางด้าน HFE (เช่น การตีพิมพ์ผลงานวิจัย หนังสือ ตำรา โครงการประยุกต์ทางด้าน HFE ที่นำไปใช้ได้จริง เป็นต้น) ดังนี้
3.1 ผลงานวิจัยที่อยู่ในวารสารวิชาการที่มีการตรวจสอบ ผู้เขียนชื่อแรก (first author) หรือผู้รับผิดชอบ (corresponding author) 6 คะแนน ผู้เขียนท่านอื่น (co author) 3 คะแนน
3.2 ผลงานวิจัยที่อยู่ในรายงานการประชุมวิชาการ (proceeding) ผู้เขียนชื่อแรก (first author) หรือผู้รับผิดชอบ (corresponding author) 3 คะแนน ผู้เขียนท่านอื่น (co author) 1 คะแนน
3.3 รายงานโครงงานทางด้าน HFE ที่ใช้ได้จริง ผู้ดำเนินการหลัก (principal investigator) 6 คะแนน ผู้ช่วยดำเนินการ (co-investigator) 3 คะแนน
ส่วนที่ 4. งานบริการอื่น ๆ ที่ไม่อยู่ในขอบเขตงานประจำ (เช่น การเป็นวิทยากรอบรม การให้คำปรึกษา การตรวจสอบงานวิจัย การประเมินความเสี่ยง เป็นต้น) 1 วัน (6 ชั่วโมง) พิจารณาคะแนน 2 คะแนน และถ้าน้อยกว่า 1 วัน จะพิจารณา 1 คะแนน
รูปที่ 1 แผนผังขั้นตอนการขอรับการรับรองเป็นนักการยศาสตร์วิชาชีพระดับภาคี
ข้ออภัยกำลังจัดทำข้อมูล
หากมีข้อสงสัยกรุณาติดต่อทางคณะกรรมการรับรองนักการยศาสตร์ระดับวิชาชีพ สมาคมการยศาสตร์ไทย
In the conduct of their profession, professional ergonomists shall:
ในการประกอบวิชาชีพ นักการยศาสตร์ระดับวิชาชีพจะต้อง:
รักษาไว้ซึ่งความซื่อสัตย์ ความเที่ยงธรรมและเคารพต่อหลักฐานเชิงประจักษ์ อยู่ตลอดเวลา
ไม่กล่าวอ้างอันเป็นเท็จถึงคุณวุฒิทางการศึกษา การเป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพ คุณลักษณะหรือขีดความสามารถของตนเองหรือองค์กร
ละเว้นจากการกระทำที่ทำให้เกิดการเข้าใจผิด การโอ้อวดที่เกินจริงหรือไม่เป็นธรรมในเรื่องประสิทธิผลของวิธีการที่ใช้ และจะต้องไม่โฆษณาการให้บริการในลักษณะที่เป็นการสนับสนุนให้เกิดความคาดหวังที่ไม่เป็นจริงเกี่ยวกับประสิทธิผลและผลลัพธ์ของการให้บริการนั้น ๆ
ปฏิบัติตนในกิจกรรมทางวิชาชีพในรูปแบบที่ไม่ทำลายผลประโยชน์ของผู้รับบริการหรือผู้เข้าร่วมวิจัย อันจะเป็นการทำลายความเชื่อมั่นต่อสาธารณะในความสามารถของตนในการประกอบวิชาชีพ
จำกัดการปฏิบัติให้อยู่ในขอบเขตของงานการยศาสตร์ที่ตนมีความรู้ความสามารถจากการฝึกอบรม และ/หรือมีประสบการณ์เท่านั้น และพยายามรักษาและพัฒนาความสามารถในวิชาชีพของตนอยู่เสมอ งานใด ๆ ที่ทำนอกเหนือความสามารถของตนเองจะต้องดำเนินการภายใต้การดูแลจากผู้เชี่ยวชาญที่เหมาะสมเท่านั้น หรือเป็นผู้ช่วยดำเนินการให้แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตรงตามความต้องการของการให้บริการ
ให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพของทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานเสมอ ปกป้องความลับของแต่ละบุคคลและองค์กร และปฏิบัติตามหลักจริยธรรมเมื่อดำเนินการหรือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมวิจัย
ไม่ใช้ เชื้อชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ ความทุพพลภาพ เพศ เพศวิถี อายุ ศาสนา หรือชาติกำเนิด เป็นเกณฑ์พิจารณาในการจ้างงาน ส่งเสริม หรือการฝึกอบรมในสถานการณ์ใด ๆ ที่การพิจารณาดังกล่าวไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
หลีกเลี่ยงสถานการณ์ทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในเชิงผลประโยชน์ทับซ้อน และเปิดเผยความขัดแย้งทั้งหมดเหล่านั้นแก่ทุกฝ่ายที่มีโอกาสได้รับผลกระทบ
ดำเนินการตามขั้นตอนที่เหมาะสมทั้งหมดเพื่อรักษาความลับของข้อมูลที่ได้มาจากการประกอบวิชาชีพ และเพื่อเป็นการปกป้องความลับของบุคคลหรือองค์กรที่ให้ข้อมูลด้วย นอกจากนี้จะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของบุคคลหรือองค์กรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
ไม่เรียกร้องหรือรับผลประโยชน์ทางการเงินหรือสิ่งของจากผู้รับบริการนอกเหนือจากที่ตกลงกันไว้ นอกจากนี้ จะต้องไม่รับผลประโยชน์ทับซ้อนจากองค์กรมากกว่าหนึ่งแห่งสำหรับการปฎิบัติงานเดียวกันโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
เมื่อทราบว่าเพื่อนร่วมงานประพฤติผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานดังกล่าว จะต้องดำเนินการเพื่อนำความประพฤติมิชอบนั้นไปสู่การพิจารณาของผู้ที่มีอำนาจในองค์กรวิชาชีพที่สังกัดอยู่
ดำเนินการตามขั้นตอนที่สมเหตุสมผล เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่ปฏิบัติติงานภายใต้การกำกับดูแลของตน จะปฏิบัติตามแนวทางจรรยาบรรณสำหรับนักการยศาสตร์ระดับวิชาชีพฉบับนี้
◊ ประเมินว่านักการยศาสตร์มีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงาน โดยการรับรองเป็นหลักฐานแสดงความสามารถระดับมืออาชีพ
◊ การตรวจสอบความสามารถโดยองค์กรอิสระทำให้มีความน่าเชื่อถือในระดับมืออาชีพที่สูงขึ้น
◊ ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและการยอมรับจากองค์กรและผู้ประกอบวิชาชีพการยศาสตร์ท่านอื่นๆ
◊ จากสถิติในต่างประเทศ 66% โดยเฉลี่ยของนายจ้างต้องการผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรอง
◊ เพิ่มโอกาสและความสะดวกในการทำงานข้ามประเทศและทำงานกับบริษัทข้ามชาติ (Mutual recognition between certification systems)
นโยบายของคณะกรรมการรับรองนักการยศาสตร์ระดับวิชาชีพ - สมาคมการยศาสตร์ไทย
(Policy of Certifying Board of Professional Ergonomists – Ergonomics Society of Thailand)
ดำเนินการรับรองนักการยศาสตร์ของประเทศให้มีมาตรฐานในระดับสากล โดยมีนโยบายดังนี้