คณะกรรมการรับรองนักการยศาสตร์ระดับวิชาชีพ สมาคมการยศาสตร์ไทย

thzh-CNen

ขั้นตอนการพิจารณาเพื่อเทียบเคียงหลักสูตรเพื่อการรับรองนักการยศาสตร์วิชาชีพระดับภาคี (Associated Professional Ergonomics: APE)

ตามที่คณะกรรมการรับรองนักการยศาสตร์ระดับวิชาชีพ ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกสั้น ๆ ว่า คณะกรรมการฯ CBEST ได้เปิดให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ สามารถขอการเทียบเคียงหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องความรู้ทางด้านการยศาสตร์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลให้กับทางคณะกรรมการฯ ในการพิจารณาผู้ที่จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาของท่าน ได้รับการรับรองเป็นนักการยศาสตร์วิชาชีพระดับภาคี ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ (1) Physical Ergonomics : APEP  (2) Cognitive Ergonomics : APEC  (3) Macro Ergonomics : APEM 

การขอเทียบเคียงสามารถขอเพียงสาขาใดสาขาหนึ่งหรือทั้งหมดก็ได้ ซึ่งคณะกรรมการฯ CBEST จะพิจารณาจากข้อมูลสองส่วนคือ ความรู้พื้นฐาน และ ความรู้เฉพาะด้านในแต่ละสาขา  โดยขั้นตอนการเทียบเคียงหลักสูตรจะมีดังนี้

 

1. ผู้แทนหลักสูตร (อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากประธานหลักสูตร) ที่จะขอเทียบเคียง ทำการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ โดยการขอเทียบเคียงหลักสูตรจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

ส่วนที่ 1 การขอเทียบเคียงกลุ่มความรู้พื้นฐาน Basic Knowledge (คลิกเข้าระบบบันทึกข้อมูล)

ส่วนที่ 2 การขอเทียบเคียงความรู้เฉพาะด้าน (Specific Knowledge) ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้

APEP: การขอเทียบเคียงกลุ่มความรู้เฉพาะทางด้าน Physical Ergonomics (คลิกเข้าระบบบันทึกข้อมูล)

APEC: การขอเทียบเคียงกลุ่มความรู้เฉพาะทางด้าน Cognitive Ergonomics (คลิกเข้าระบบบันทึกข้อมูล)

APEM: การขอเทียบเคียงกลุ่มความรู้เฉพาะทางด้าน Macro Ergonomics (คลิกเข้าระบบบันทึกข้อมูล)

ในการขอเทียบเคียงหลักสูตร สถาบันการศึกษาที่สนใจในการขอเทียบเคียงหลักสูตร จะต้องทำการบันทึกข้อมูลของหลักสูตรทั้งสองส่วนที่กล่าวไว้ข้างต้น ส่วนที่ 1 ความรู้พื้นฐาน และ ส่วนที่ 2 ความรู้เฉพาะด้าน สำหรับส่วนที่ 2 ที่เป็นความรู้เฉพาะด้าน อาจจะเลือกขอเทียบเคียงเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หรือ ทั้งสามด้านก็ได้

 

2. ประธานและเลขาของคณะกรรมการรับรองนักการยศาสตร์ระดับวิชาชีพ (คณะกรรมการฯ CBEST) พิจารณาผู้แทน 3 ท่าน จากคณะกรรมการฯ CBEST เพื่อพิจารณาหลักสูตรที่ขอเทียบเคียง ซึ่งผู้แทนดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือมีการขัดกันแห่งผลประโยชน์หรือมีความเกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่ขอเทียบเคียง
โดยผู้แทนทั้ง 3 ท่านประกอบด้วย

ผู้แทนที่จะเป็นกรรมการหลัก 1 ท่าน  เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญการยศาสตร์ทางด้านที่ขอการรับรอง และเป็นผู้ที่ทำงานอยู่ในคณะฯ/สาขาวิชา ที่มีความเกี่ยวข้องตามหลักสูตรของท่าน

ผู้แทนที่จะเป็นกรรมการร่วม 2 ท่าน เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญการยศาสตร์ทางด้านที่ขอการรับรอง และต้องเป็นผู้ที่มาจากคณะฯ/สาขาวิชาที่แตกต่างจากผู้แทนที่เป็นกรรมการหลักอย่างน้อย 1 ท่าน

 

3. หลักเกณฑ์ในการพิจารณาของคณะกรรมการฯ CBEST ในการเทียบเคียงหลักสูตร

3.1 การพิจารณาจะเป็นไปตามรายละเอียดข้อกำหนดสมรรถนะ (Core Competency) ของนักการยศาสตร์วิชาชีพระดับภาคี ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการฯ CBEST

3.2 การพิจารณาจะพิจารณาทั้งความรู้พื้นฐาน (Basic Knowledge) และ ความรู้เฉพาะด้าน (Specific Knowledge) ด้านที่ท่านขอการรับรอง

โดยพิจารณาจากหัวข้อ เนื้อหาและจำนวนชั่วโมงที่มีการเรียนการสอน ตามข้อกำหนดที่ให้ไว้ในเอกสารสมรรถนะสำหรับนักการยศาสตร์ระดับภาคี การพิจารณาจะใช้เวลาไม่เกิน 90 วันหลังจากที่สิ้นสุดการบันทึกข้อมูล

 

หมายเหตุ เอกสารที่ต้องใช้ในการบันทึกข้อมูล

1. ไฟล์ PDF เล่มหลักสูตรที่ผ่านการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยแล้ว ฉบับที่มีตราประทับ

2. ไฟล์ PDF แผนการสอนรายสัปดาห์ หรือ มคอ.3 ที่มีรายละเอียดแผนการสอน เฉพาะวิชาที่มีการอ้างถึงในการบันทึกข้อมูลเพื่อขอเทียบเคียงหลักสูตร

3. กรณีที่ผู้บันทึกข้อมูลมิใช้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จะต้องมีหนังสือรับรองจากประธานหลักสูตร เป็นไฟล์ PDF